ukulele in Thailand
11/22/2554
วิธีการเล่นอูคูเลเล่เบื้องต้น
สวัสดีเพื่อนๆชาว Ukulele in Thailand ทุกคนค่ะ หลังจากที่เพื่อนๆได้รู้จักคอร์ดของอูคูเลเล่แล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเล่นอูคูเลเล่เบื้องต้นค่ะ ซึ่งวิธีการเล่นอูคูเลเล่เบื้องต้นมี 2 แบบค่ะ
แบบที่1 การเล่นแบบตีคอร์ด (strumming the ukulele) มักเรียกติดปากว่า การเล่นแบบ Strum วิธีการก็คือให้เพื่อนๆใช้นิั้วชี้ หรือนิ้วหัวแม่มือดีดลงทั้ง 4 สายในคราวเดียวกัน คล้ายๆการตีคอร์ดกีต้าร์ ซึ่งแต่ละคนจะมีเทคนิคในการตีคอร์ดไม่เหมือนกันแล้วแต่ความถนัด เช่น ดีดลงอย่างเดียว หรือ ลง ลง ขึ้น ขึ้น ลง เดี๋ยวเราจะได้เรียนจังหวะในการตีคอร์ดในบล็อกถัดไปค่ะ
แบบที่2 การเกา (finger picking style) มักเรียกติดปากว่า การเล่นแบบ picking เป็นการเล่นโดยการดีดทีละสาย ก็จะคล้ายๆกับการเกากีตาร์ค่ะ
เป็นไงบ้างคะ เพื่อนๆคงรู้วิธีการเล่นทั้ง 2 แบบแล้ว แบบไหนที่เพื่อนๆชอบก็นำไปประยุกต์ใช้กันนะคะ สำหรับบล็อกนี้ ขอจบเพียงเท่านี้ค่ะ แล้วเจอกันใหม่ในบล็อกถัดไปค่ะ
11/18/2554
วิธีการฝึกจับคอร์ดอูคูเลเล่
ฝึกจับคอร์ดอูคูเลเล่เบื้องต้น
สวัสดีเพื่อนชาว Ukulele in Thailand ทุกคน พบกันอีกเช่นเคยกับเรื่องราวที่น่าสนใจของเครื่องดนตรีอูคูเลเล่ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการจับคอร์ดอูคูเลเล่กันค่ะ ถ้าเพื่อนๆคนไหนสนใจก็ลองหยิบอูคูเลเล่ตัวโปรดของเพื่อนๆมาลองฝึกหัดกันได้เลยค่ะ
อันดับแรกเพื่อนๆจะต้องรู้คอร์ดของอูคูเลเล่ก่อนนะคะว่า แต่ละคอร์ดมีหน้าตาเป็นยังไง ขอบอกได้เลยว่าง่ายมากค่ะไม่เหมือนคอร์ดกีตาร์นะคะ สำหรับใครที่มีทักษะในการเล่นกีตาร์ให้ลืมคอร์ดกีตาร์ไปได้เลยค่ะ เพราะถ้าเพื่อนๆนำคอร์ดกีตาร์มาจำแล้วจะเกิดความสับสนค่ะ คอร์ดที่เราจะยกตัวอย่างในวันนี้แค่ 4 คอร์ด ก็เล่นเป็นเพลงได้แล้วค่ะ
เริ่มที่คอร์ดแรก มีชื่อว่าคอร์ด C ค่ะ ดูตัวอย่างตามรูปนะคะ ให้เพื่อนๆนำอูคูเลเล่มาวางไว้ที่หน้าตักขวา โดยทำมุม 45 องศา และใช้มือซ้ายจับที่คอของอูคูเลเล่ จากนั้นการจับคอร์ดเราจะใช้มือขวาค่ะ สำหรับผู้ที่ถนัดซ้ายให้ทำการเปลี่ยนสายใหม่จากปกติ G C E A เป็น A E C G เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนค่ะ ให้เพื่อนๆใช้นิ้วนางกดสายที่ 1 เฟรตที่ 3 แล้วดีด แค่นี้เพื่อนๆก็จะได้คอร์ด C ตามต้องการค่ะ
ต่อมาเป็นคอร์ด G ค่ะ คราวนี้จะยากกว่าเดิมนิดนึงค่ะ แต่ก็ไม่เกินความสามารถของเพื่อนๆใช่มั้ยคะ ให้เพื่อนๆใช้นิ้วกลางกดสายที่ 1 เฟรตที่ 2 นิ้วชี้กดสายที่ 3 เฟรตที่ 2 และนิ้วนางกดที่สายที่ 2 เฟรตที่ 3 คอร์ดนี้จะเหมือนคอร์ด D ของกีตาร์ค่ะ และอีกคอร์ดคือ คอร์ด Am คอร์ดนี้ก็ใช้แค่นิ้วเดียวเหมือนคอร์ด C เพียงแต่ว่าใช้นิ้วกลางกดที่สายที่ 4 เฟรตที่ 2 ค่ะ และคอร์ดสุดท้ายที่เราจะนำเสนอในวันนี้คือคอร์ด F ค่ะ ง่ายมากเลยค่ะใช้นิ้วสองนิ้ว คือ นิ้วชี้กดที่สายที่ 2 เฟรตที่ 1 และใช้นิ้วกลางกดที่สายที่ 4 เฟรตที่ 2 ค่ะ เป็นไงบ้างคะกับวิธีการฝึกจับคอร์ดอูคูเลเล่เบื้องต้นง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากเลยใช่มั้ยคะ วันนี้เพื่อนๆก็ลองไปฝึกจับคอร์ดที่เหลือเป็นการบ้านแล้วกัน และเพื่อนๆสามารถดูคอร์ดเพิ่มเติมได้จากด้านล่างนะคะ แล้วติดตามวิธีการเล่นอูคูเลเล่เบื้องต้นในบล็อกถัดไปค่ะ
สวัสดีเพื่อนชาว Ukulele in Thailand ทุกคน พบกันอีกเช่นเคยกับเรื่องราวที่น่าสนใจของเครื่องดนตรีอูคูเลเล่ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการจับคอร์ดอูคูเลเล่กันค่ะ ถ้าเพื่อนๆคนไหนสนใจก็ลองหยิบอูคูเลเล่ตัวโปรดของเพื่อนๆมาลองฝึกหัดกันได้เลยค่ะ
อันดับแรกเพื่อนๆจะต้องรู้คอร์ดของอูคูเลเล่ก่อนนะคะว่า แต่ละคอร์ดมีหน้าตาเป็นยังไง ขอบอกได้เลยว่าง่ายมากค่ะไม่เหมือนคอร์ดกีตาร์นะคะ สำหรับใครที่มีทักษะในการเล่นกีตาร์ให้ลืมคอร์ดกีตาร์ไปได้เลยค่ะ เพราะถ้าเพื่อนๆนำคอร์ดกีตาร์มาจำแล้วจะเกิดความสับสนค่ะ คอร์ดที่เราจะยกตัวอย่างในวันนี้แค่ 4 คอร์ด ก็เล่นเป็นเพลงได้แล้วค่ะ
เริ่มที่คอร์ดแรก มีชื่อว่าคอร์ด C ค่ะ ดูตัวอย่างตามรูปนะคะ ให้เพื่อนๆนำอูคูเลเล่มาวางไว้ที่หน้าตักขวา โดยทำมุม 45 องศา และใช้มือซ้ายจับที่คอของอูคูเลเล่ จากนั้นการจับคอร์ดเราจะใช้มือขวาค่ะ สำหรับผู้ที่ถนัดซ้ายให้ทำการเปลี่ยนสายใหม่จากปกติ G C E A เป็น A E C G เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนค่ะ ให้เพื่อนๆใช้นิ้วนางกดสายที่ 1 เฟรตที่ 3 แล้วดีด แค่นี้เพื่อนๆก็จะได้คอร์ด C ตามต้องการค่ะ
ต่อมาเป็นคอร์ด G ค่ะ คราวนี้จะยากกว่าเดิมนิดนึงค่ะ แต่ก็ไม่เกินความสามารถของเพื่อนๆใช่มั้ยคะ ให้เพื่อนๆใช้นิ้วกลางกดสายที่ 1 เฟรตที่ 2 นิ้วชี้กดสายที่ 3 เฟรตที่ 2 และนิ้วนางกดที่สายที่ 2 เฟรตที่ 3 คอร์ดนี้จะเหมือนคอร์ด D ของกีตาร์ค่ะ และอีกคอร์ดคือ คอร์ด Am คอร์ดนี้ก็ใช้แค่นิ้วเดียวเหมือนคอร์ด C เพียงแต่ว่าใช้นิ้วกลางกดที่สายที่ 4 เฟรตที่ 2 ค่ะ และคอร์ดสุดท้ายที่เราจะนำเสนอในวันนี้คือคอร์ด F ค่ะ ง่ายมากเลยค่ะใช้นิ้วสองนิ้ว คือ นิ้วชี้กดที่สายที่ 2 เฟรตที่ 1 และใช้นิ้วกลางกดที่สายที่ 4 เฟรตที่ 2 ค่ะ เป็นไงบ้างคะกับวิธีการฝึกจับคอร์ดอูคูเลเล่เบื้องต้นง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากเลยใช่มั้ยคะ วันนี้เพื่อนๆก็ลองไปฝึกจับคอร์ดที่เหลือเป็นการบ้านแล้วกัน และเพื่อนๆสามารถดูคอร์ดเพิ่มเติมได้จากด้านล่างนะคะ แล้วติดตามวิธีการเล่นอูคูเลเล่เบื้องต้นในบล็อกถัดไปค่ะ
11/16/2554
วิธีการตั้งเสียงอูคูเลเล่
สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาว Ukulele in Thailand ทุกคน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการตั้งเสียงของอูคูเลเล่กัน เพื่อนๆเคยสังเกตไหมคะว่า อูคูเลเล่ที่ซื้อมาใหม่ๆทำไมเมื่อเล่นได้ไม่กี่นาทีเสียงก็เพี้ยนแล้ว สาเหตุเนื่องมาจากสายของอูคูเลเล่มีการยืดหยุ่นยังไม่คงที่ค่ะ แต่เพื่อนๆไม่ต้องกังวลนะคะ เมื่อเล่นไปซักระยะหนึ่งแล้วสายก็จะเข้าที่เองค่ะ หรืออีกสาเหตุอาจเป็นเพราะว่าลูกบิดไม่ได้มาตรฐานค่ะ ดังนั้นการตั้งเสียงอูคูเลเล่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เพื่อนๆควรศึกษาไว้นะคะ ซึ่งมีวิธีการตั้งเสียงหลายวิธี ดังนี้
1. การเทียบเสียงกับเปียโนหรือคีย์บอร์ด เพื่อนๆคนไหนที่มีประสบการณ์ในการเล่นเปียโนหรือคีย์บอร์ดก็สามารถเทียบเสียงอูคูเลเล่ให้ถูกต้องโดยโน้ตของอูคูเลเล่ไล่ตั้งแต่สายที่ 4 (สายบนสุด) จนมาถึงสายที่ 1 (สายล่างสุด) ซึ่งก็คือเสียง ซอล (G) โด (C) มี (E) ลา (A) ตามลำดับ โดยจะเทียบเสียงในตำแหน่งที่เป็น Middle C ของเปียโนค่ะ
2. การตั้งเสียงโดยใช้เครื่องดิจิทัลจูนเนอร์ วิธีนี้เหมาะกับเพื่อนๆมือใหม่ที่เพิ่งหัดเล่นอูคูเลเล่ค่ะ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายเครื่องดนตรี วิธีใช้เราก็จะติดเครื่องดิจิทัลจูนเนอร์ไว้ที่ส่วน Head (หัว) ของอูคูเลเล่ ส่วนวิธีการเช็คเสียงคือให้ตั้งค่าที่โหมด Ukulele - C เมื่อดีดสายที่ 4 หรือสายบนสุดซึ่งมีเสียงซอล (G) หากเสียงที่ออกมาตรงและถูกต้องแล้ว เข็มของหน้าปัดก็จะอยู่ตรงกลางและมีตัวอักษรสีเขียวขึ้นว่า G ค่ะ
3. การตั้งเสียงอูคูเลเล่โดยวิธีไล่สาย วิธีนี้เหมาะสำหรับเพื่อนๆที่มีความแม่นยำในเรื่องของตัวโน้ต ก็จะสามารถเช็คการตั้งสายว่าแต่ละสายมีเสียงโน้ตที่ถูกต้องหรือไม่ โดยดูได้จากโน้ตต่างๆบน finger board ค่ะ
เมื่อเพื่อนๆได้รู้วิธีการตั้งเสียงอูคูเลเล่ให้ได้ตามมาตรฐานสากลแล้ว เพื่อนๆก็สามารถพัฒนาไปอีกขั้น ด้วยการฝึกจับคอร์ดเพื่อเล่นเพลงต่างๆได้ในบล็อกต่อไปค่ะ อย่าลืมติดตามชมกันนะคะ
1. การเทียบเสียงกับเปียโนหรือคีย์บอร์ด เพื่อนๆคนไหนที่มีประสบการณ์ในการเล่นเปียโนหรือคีย์บอร์ดก็สามารถเทียบเสียงอูคูเลเล่ให้ถูกต้องโดยโน้ตของอูคูเลเล่ไล่ตั้งแต่สายที่ 4 (สายบนสุด) จนมาถึงสายที่ 1 (สายล่างสุด) ซึ่งก็คือเสียง ซอล (G) โด (C) มี (E) ลา (A) ตามลำดับ โดยจะเทียบเสียงในตำแหน่งที่เป็น Middle C ของเปียโนค่ะ
2. การตั้งเสียงโดยใช้เครื่องดิจิทัลจูนเนอร์ วิธีนี้เหมาะกับเพื่อนๆมือใหม่ที่เพิ่งหัดเล่นอูคูเลเล่ค่ะ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายเครื่องดนตรี วิธีใช้เราก็จะติดเครื่องดิจิทัลจูนเนอร์ไว้ที่ส่วน Head (หัว) ของอูคูเลเล่ ส่วนวิธีการเช็คเสียงคือให้ตั้งค่าที่โหมด Ukulele - C เมื่อดีดสายที่ 4 หรือสายบนสุดซึ่งมีเสียงซอล (G) หากเสียงที่ออกมาตรงและถูกต้องแล้ว เข็มของหน้าปัดก็จะอยู่ตรงกลางและมีตัวอักษรสีเขียวขึ้นว่า G ค่ะ
3. การตั้งเสียงอูคูเลเล่โดยวิธีไล่สาย วิธีนี้เหมาะสำหรับเพื่อนๆที่มีความแม่นยำในเรื่องของตัวโน้ต ก็จะสามารถเช็คการตั้งสายว่าแต่ละสายมีเสียงโน้ตที่ถูกต้องหรือไม่ โดยดูได้จากโน้ตต่างๆบน finger board ค่ะ
เมื่อเพื่อนๆได้รู้วิธีการตั้งเสียงอูคูเลเล่ให้ได้ตามมาตรฐานสากลแล้ว เพื่อนๆก็สามารถพัฒนาไปอีกขั้น ด้วยการฝึกจับคอร์ดเพื่อเล่นเพลงต่างๆได้ในบล็อกต่อไปค่ะ อย่าลืมติดตามชมกันนะคะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)